กิจกรรม| นักเรียน | บุคลากร | วิชาการ | ห้องเรียน |ห้องสมุด
กลุ่มงานบุคลากร PersonnelDepartment
หน้าหลัก|ประชาสัมพันธ์| ห้องภาพ| วีดิทัศน์| ผลงาน |อนามัย
รหัสประชาชน
รหัสผ่าน
EN TH

รายงานผลการเรียนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เรื่องเพศศึกษาเพื่อพัฒนาความฉลาดทางจริยธรรม(MQ) และความสามารถในการเผชิญและฝ่าอุปสรรค(AQ)

รายละเอียด : Title: The lesson of learning management process by mixed media and student center: the case study of health education class (P.31101) in Bau-Kaw high school

Author: Tippasorn Jomtarak

Abstract
This study aims were; 1) To develop the learning management by mixed media and student center of health education class (P.31101) in Mathayom 4th with the 80/ 80 standard of efficiency scale, 2) To study the efficacy index of mixed media and student center of health education class (P.31101) in Mathayom 4th , 3) To study student satisfaction of mixed media and student center of health education class (P.31101) in Mathayom 4th, and 4) To compare the efficacy of study between pre and post studying in mixed media and student center of health education class (P.31101) in Mathayom 4th. Study population were the Mathayom forth students of the second symmetry (2012) in Bua-Kaw hight school. Forty seven students were included by cluster random sampling from a class room of all Mathayom 4th level. One group pretest-posttest design was utilized for study method. Study tool was the thirty items - questionnaire of studying efficiency with the difficult value of 0.43 to 0.65 and the confident of 0.74. Descriptive analysis by percent, mean and standard deviation were used for statistic analysis. This study found mixed media and student center showed higher efficiency scale (86.83/ 89.38) than the standard (80/ 80), the efficacy index of mixed media and student center was 0.8104, satisfaction for the efficacy index of mixed media and student center was reported the most level (mean was 4.77), the test score after the efficacy index of mixed media and student center (post-test) showed higher score than pretest at statistical significant of p-value 0.05.

............................................................................................

Title: The effect of seven-steps learning cycle program in sex education for developing of mortal oral quotient and facing/ solving problem ability: The case study of Mathayom 4th students, Bau-Kaw high school

Arthur: Mrs. Tippasorn Jomtharak

ABSTRACT
This study aimed to 1).assess seven-steps of learning cycle about sex education for developing of mortal oral quotient and facing/ solving problem ability, 2). compare the management of seven-steps of learning cycle program in sex education between pretest and posttest, 3). Compare the result of sex education class between students who were teach by seven-steps of learning cycle and who teach by standard learning. This study was quasi-experimental design by assessing the effect of seven-steps learning cycle program in sex education in two group of students in Bau-Kaw high school. 84 Mathayom 4th students of two classes were randomized included from 440 clusters during the second semester, 2012. the first class (47 students) was experimental group with seven-steps of learning cycle program in sex education and another class (47 students) was control group with standard program. Randomized pretest – posttest group design was utilized for study design. Descriptive statistic (percent, mean, standard deviation and t-test) were reported for analyzation. This study found higher ability of mortal oral quotient and facing/ solving problem, in the group of seven-steps learning cycle. Higher scores of pretest-posttest was shown in the group of seven-steps learning cycle when compare to control group. In the conclusion, students of sex education class with seven-steps learning cycle program had higher ability in mortal oral quotient and facing/ solving problem ability than student of standard program by p-value 0.05 statistical significant.

.................................................................................................

ชื่อเรื่อง รายงานผลการเรียนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เรื่องเพศศึกษาเพื่อพัฒนาความฉลาดทางจริยธรรม (MQ) และความสามารถในการเผชิญและฝ่าอุปสรรค (AQ)ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบัวขาว

ผู้รายงาน นางทิพศร จอมทรักษ์

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) ศึกษาผลการการเรียนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น
เรื่องเพศศึกษา เพื่อการพัฒนาความฉลาดทางจริยธรรม (MQ) และความสามารถในการเผชิญ และฝ่าฟันอุปสรรค (AQ)ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบัวขาว (2) เปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เรื่องเพศศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียน โดยกการจัดการเรียนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เรื่องเพศศึกษา (3) เปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เรื่องเพศศึกษาระหว่างกลุ่มนักเรียนที่ใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา-ปีที่ 4 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 440 กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 84 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นกลุ่ม (Cluster) ด้วยการจับฉลากมา 2 ห้อง กลุ่มทดลอง (Experimental Group) ห้อง 4/3 จำนวน 47 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เรื่องเพศศึกษา กลุ่มควบคุม (Control Group) ห้อง 4/5 จำนวน 47 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่องเพศศึกษา การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงทดลอง โดยมีแบบแผนการทดลองแบบ Randomized Pretest – Posttest Group Design เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เรื่องเพศศึกษา เพื่อการพัฒนาความฉลาด ทางจริยธรรม (MQ) และความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค (AQ) และแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องเพศศึกษาตามคู่มือครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ ค่าt-test Independent Sample

ผลการศึกษาพบว่า
1. นักเรียนที่จัดการเรียนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เรื่องเพศศึกษา เพื่อการพัฒนา ความฉลาดทางจริยธรรม (MQ) และความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค (AQ)ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบัวขาว โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. นักเรียนที่เรียนจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เรื่องเพศศึกษาเพื่อการพัฒนา ความฉลาดทางจริยธรรม (MQ) และความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค (AQ)ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบัวขาว ก่อนเรียน และหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
3. นักเรียนที่จัดการการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เรื่องเพศศึกษา เพื่อการพัฒนา ความฉลาดทางจริยธรรม (MQ) และความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค (AQ)ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบัวขาวระหว่างกลุ่มนักเรียนที่ใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
โดยสรุป นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่องเพศศึกษา มีการพัฒนา ความฉลาดทางจริยธรรม (MQ) และความสามารถ ในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค (AQ) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 แสดงว่า การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เรื่องเพศศึกษาสามารถพัฒนาความฉลาดทางจริยธรรม (MQ) และความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค (AQ)ได้จริง นักเรียนสามารถ อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

...................................................................................

ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญวิชาสุขศึกษา พ.31101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบัวขาว

ผู้รายงาน นางทิพศร จอมทรักษ์

บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาสุขศึกษา พ. 31101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาสุขศึกษา พ. 31101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัด การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาสุขศึกษา พ. 31101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้สื่อประสมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาสุขศึกษา พ. 31101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 440 กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 47 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นกลุ่ม (Cluster) ด้วยการจับฉลากมา 1 ห้อง กลุ่มทดลอง (Experimental Group) ได้แก่นักเรียนห้อง 4/2 จำนวน 47 คน ใช้วิธีการวิจัยแบบ One Group Pre-test – Post-test Design เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แผนการการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาสุขศึกษา พ. 31101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 1 ฉบับ จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ .43 ถึง .65 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.74 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. สื่อประสมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาสุขศึกษา พ. 31101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
มีประสิทธิภาพ 86.83/89.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลของสื่อประสมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาสุขศึกษา พ. 31101
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เท่ากับ 0.8104
3. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอน ที่ใช้สื่อประสมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาสุขศึกษา พ. 31101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.77 อยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียน ด้วยสื่อประสมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาสุขศึกษา พ. 31101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ไฟล์แนบ : 420130920_141630Tippasorn_Jomtarak.pdf
ระดับ :
กลุ่มสาระ : 5
วันที่ : 20 กันยายน 2556
จำนวนเข้าชม : 30