กิจกรรม
|
นักเรียน
|
บุคลากร
|
วิชาการ
|
ห้องเรียน
|
ห้องสมุด
กลุ่มงานบุคลากร PersonnelDepartment
หน้าหลัก
|
ประชาสัมพันธ์
|
ห้องภาพ
|
วีดิทัศน์
|
ผลงาน
|
อนามัย
รหัสประชาชน
รหัสผ่าน
TH
EN
TH
การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาเพิ่มเติมชีววิทยา 1
รายละเอียด :
ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาเพิ่มเติมชีววิทยา 1
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ : ระบบการย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์
ผู้วิจัย นุช เข็มรัมย์
สถานศึกษา โรงเรียนบัวขาว ปีการศึกษา 2555
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาเพิ่มเติมชีววิทยา 1
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ : ระบบการย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์
มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาเพิ่มเติมชีววิทยา 1
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ : ระบบการย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์
2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาเพิ่มเติมชีววิทยา 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ : ระบบการย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์
3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเพิ่มเติมชีววิทยา 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ : ระบบการย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์รายวิชาเพิ่มเติมชีววิทยา 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ : ระบบการย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จำนวนนักเรียน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ จำนวน 5 ชุด
2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยาก (p) ระหว่าง 0.38 – 0.75 และอำนาจจำแนก (B) ระหว่าง 0.31 – 0.81 ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.67 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เป็นข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อมีค่าความยาก (p) ระหว่าง 0.44–0.68 และอำนาจจำแนก (B) ระหว่าง 0.48 - 0.85 ความเชื่อมั่น 0.75 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t- test for Dependent Sample ผลการวิจัย พบว่า
1. ชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาเพิ่มเติมชีววิทยา 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ : ระบบการย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ จำนวน 5 ชุด มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.78 / 83.54 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ที่ 80/80
2. ชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาเพิ่มเติมชีววิทยา 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ : ระบบการย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6757
3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาเพิ่มเติมชีววิทยา 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ : ระบบการย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยชุดกิจกรรม
เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาเพิ่มเติมชีววิทยา 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ : ระบบการย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ด้วยชุดกิจกรรม
เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เป็นชุดกิจกรรมที่มีการจัดลำดับขั้นตอนไว้อย่างชัดเจนและเป็นระบบ
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดอย่างรอบคอบภายใต้หลักการที่เป็นเหตุเป็นผล จัดกิจกรรมด้วยการปฏิบัติจริงทำให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของตนเอง มีความสนุกสนานในการเรียน กล้าแสดงความคิดเห็นเรียงลำดับความคิดอย่างถูกต้องเหมาะสม ก่อนนำไปสู่การสรุปผลที่ถูกต้องที่สุด และสามารถนำประสบการณ์เดิมเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ได้เป็นอย่างดี จึงส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ดีขึ้น
ไฟล์แนบ :
420140206_114442nood.pdf
ระดับ :
กลุ่มสาระ :
3
วันที่ :
6 กุมภาพันธ์ 2557
จำนวนเข้าชม :
50