กิจกรรม| นักเรียน | บุคลากร | วิชาการ | ห้องเรียน |ห้องสมุด
กลุ่มงานบุคลากร PersonnelDepartment
หน้าหลัก|ประชาสัมพันธ์| ห้องภาพ| วีดิทัศน์| ผลงาน |อนามัย
รหัสประชาชน
รหัสผ่าน
EN TH

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยที่ส่งเสริมทักษะการอ่าน การสร้างองค์ความรู้ และการคิดขั้นสูง สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

รายละเอียด : ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยที่ส่งเสริมทักษะการอ่าน การสร้างองค์ความรู้ และการคิดขั้นสูง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 The Development of Thai Instructional Model to Enhance Reading Skills, Knowledge Construction and Higher Order Thinking for Mathayomsuksa 3 Students.

ผู้วิจัย : นางกัญณภัทร แสนพวง
ตำแหน่ง : ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียน : บัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ปีการศึกษา : 2559

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยที่ส่งเสริมทักษะการอ่าน การสร้างองค์ความรู้ และการคิดขั้นสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพ กำหนดเกณฑ์ (E1/E2) ไว้ที่ 80/80 2) พัฒนาทักษะการอ่าน และการสร้างองค์ความรู้ เทียบกับเกณฑ์เป้าหมายที่กาหนดไว้ที่ร้อยละ 75 3) ศึกษาการคิดขั้นสูงโดยการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน รวมทั้งเปรียบเทียบ ความก้าวหน้าทางการเรียน นักเรียนกลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการอ่าน การสร้างองค์ความรู้ และการคิดขั้นสูง กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 48 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบัวขาว จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการ จัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการอ่านการสร้างองค์ความรู้ และการคิดขั้นสูงแบบประเมินทักษะการอ่านแบบ ประเมินผังมโนทัศน์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test Dependent Sample ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยที่พัฒนาขึ้น มี 4 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ และการวัดประเมินผล กระบวนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนย่อย คือ 1) ตรวจสอบความรู้เดิมและกระตุ้นความสนใจ (Reviewing Knowledge and Engagement) 2) สำรวจและค้นหา (Exploration) 3) สร้างผังมโนทัศน์ และอธิบายความรู้ (Conceptual Construction and Explanation) 4) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขยายความเข้าใจ (Sharing and Elaboration) และ 5) สรุปและประเมินผล (Evaluation) 6) ประยุกต์ใช้ และเชื่อมโยงความรู้ (Application and Connection Knowledge) ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอน ภาษาไทย “RECSEA Model” ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.95/82.14 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ไว้ (80/80)
2. นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยที่ส่งเสริมทักษะการอ่าน การสร้างองค์ความรู้ และการคิดขั้นสูง มีคะแนนทักษะการอ่านเฉลี่ยร้อยละ 79.58 ระดับคุณภาพทักษะการอ่าน“ดี” และมีคะแนนการ สร้างองค์ความรู้จากการเขียนผังมโนทัศน์ เฉลี่ยร้อยละ 82.66 มีระดับคุณภาพการสร้างองค์ความรู้ “ดีมาก” ผ่าน เกณฑ์เป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 75
3. นักเรียนกลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยที่ส่งเสริม ทักษะการอ่าน การสร้างองค์ความรู้ และการคิดขั้นสูงมีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ.01และมีคะแนนความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ41.59,42.50และ49.38 ตามลำดับ
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยที่ส่งเสริมทักษะการอ่าน การสร้างองค์ ความรู้ และการคิดขั้นสูง โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.39, SD 0.54)
ไฟล์แนบ : 420170703_153111thai_k.pdf
ระดับ :
กลุ่มสาระ : 1
วันที่ : 3 กรกฏาคม 2560
จำนวนเข้าชม : 4096